ทำสีให้สเตนเลส
โดยทั่วไปแล้ว สเตนเลสเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายด้วยเหตุผลหลักๆ 2 ประการ หนึ่ง คือ ความสามารถในการทนทานการกัดกร่อนในหลายสภาวะ และ สอง คือ ความสวยงามของผิวที่เงาวาว ดูหรูหรามีราคา
แต่มีหลายกรณีที่ผู้ใช้ต้องการเพียงหนึ่งในสองคุณสมบัติดังกล่าว คือ ต้องการคุณสมบัติด้านการทนทานการกัดกร่อนแต่ไม่ได้ต้องการผิวที่เงาวาวของสเตนเลส เช่น ต้องการสีชิ้นงานที่เป็นสีเดียวกับโลโก้ขององค์กร , ต้องการสีชิ้นงานที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม, ต้องการสีด้านๆเพื่อไม่ให้เกิดแสงสะท้อนในการใช้งาน
เหตุผลหนึ่งที่ผมเคยได้ยินจากผู้ใช้จริง คือ ต้องการนำไปใช้ในสภาวะกัดกร่อนสูง แต่กลัวถูกขโมย เลยอยากทาสีให้คนอื่นนึกว่าเป็นเหล็ก เรียกว่าไม่ต้องการความสวยงามจากสเตนเลสเลยจริงๆ
อันที่จริงแล้ว ด้วยลักษณะผิวสเตนเลสที่เรียบลื่น ทำให้สเตนเลสไม่เหมาะที่จะนำมาทาหรือพ่นสี เพราะสีจะร่อนหลุดได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้คุณสมบัติด้านการต้านทานการกัดกร่อนลดลง เนื่องจากกุญแจสำคัญในการป้องกันการเกิดสนิมคือ การที่ผิวสเตนเลสสามารถสร้างชั้นฟิล์มบางๆขึ้นมาเคลือบผิวกันสนิม ซึ่งกระบวนการสร้างนี้จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนมาทำปฏิกิริยากับโครเมียมในเนื้อสเตนเลส เกิดเป็นโครเมียมออกไซด์ การพ่นหรือทาสีจะทำให้ผิวสเตนเลสขาดออกซิเจนไปทำปฏิกิริยา ส่งผลให้ไม่สามารถสร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์ขึ้นมาได้ และทำให้มีโอกาสเกิดสนิมมากขึ้น
อย่างไรก็ดี บางครั้งเรามีความจำเป็นที่จะต้องทำสีด้วยเหตุผลต่างๆที่กล่าวไปแล้ว ซึ่งแม้จะมีความยุ่งยากอยู่บ้างแต่หากทำอย่างถูกวิธีก็จะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้ครับ
การทำสีสเตนเลสนั้นต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษเพื่อให้แน่ใจเรื่องความคงทนในสภาวะที่จะนำไปใช้งาน องค์ประกอบหลักในกระบวนการทำสี คือ การเตรียมผิวก่อนทำสี และ ส่วนผสมของสีที่นำมาใช้เคลือบผิว
ผิวสเตนเลสนั้นโดยทั่วไปจะเรียบลื่นกว่าผิวของเหล็กคาร์บอนอยู่แล้ว โดยเฉพาะในแผ่นบางรีดเย็น ซึ่งมีผลมากต่อการยึดเกาะของสี เพื่อให้การยึดเกาะดีขึ้น เราจึงต้องทำให้ผิวสเตนเลสหยาบขึ้นก่อนเคลือบสี
การเตรียมผิวนั้นหลักๆมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนขัดหยาบ, ขัดละเอียด และทำความสะอาดผิว
การขัดนั้นอาจจะใช้กระดาษทราย แปรงขัด หรือ ผงขัด ก็ได้ แต่ระวังอย่าให้ผงขัดมีส่วนผสมของเหล็กเพราะอาจทำให้เกิดสนิมได้ เมื่อขัดหยาบแล้วก็ตามด้วยผงขัดที่ละเอียดขึ้น หลังขัดเสร็จควรจะมีความหยาบอยู่ประมาณ 50 ไมครอน
ในส่วนของการทำความสะอาดเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ก่อนที่จะทำสีต้องแน่ใจว่า ไม่มีน้ำมัน ผง ฝุ่น จาระบี และผิวสเตนเลสต้องแห้งสนิท
ในขั้นตอนทำสีนั้น สีรองพื้นกันสนิมแบบที่ใช้ทาเหล็กทั่วไปนั้นจะมีคุณสมบัติยึดเกาะไม่ดีพอเมื่อนำมาใช้กับสเตนเลส เราจะต้องใช้สีรองพื้นแบบที่เรียกว่า Wash primer หรือ สีรองพื้นกัดผิว ซึ่งเป็นสีรองพื้นที่ใช้สำหรับโลหะผิวมันโดยเฉพาะเช่น อลูมิเนียม,สังกะสี
Wash Primer มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ และจะกัดผิวโลหะทำให้การยึดเกาะของสีดีขึ้น หลังจากนั้นจึงค่อยตามด้วย epoxy และสีน้ำมันที่จะทาทับตามลำดับครับ
แต่เดี๋ยวนี้การทำสีสเตนเลสก็มีการพัฒนาขึ้นมามาก หลังๆเราจะเห็นการทำสีสเตนเลสเป็นสีทอง/Rose gold/Blackและสีอื่นๆอีกมากมาย สีหลุ่มนี้จะเป็นสีค่อนข้างโปร่ง ซึ่งไม่ต้องรองพื้นก่อนพ่น เพราะฉะนั้นผู้ผลิตจำเป็นต้องเตรียมผิวให้สวยงามก่อนพ่น เนื่องจากด้านใต้ก็ยังสามารถมองเห็นได้หลังทำสีเสร็จ การทำสีชนิดนี้เป็นการทำสีเลียนแบบการชุบPVD
รูปตัวอย่างสีพ่นสีrose gold
ข้อดีของสีประเภทนี้ก็คือ:
1.การเตรียมผิวไม่ต้องทำละเอียดเท่าการเตรียมผิวงานชุบ
2.สามารถคุมสีในการพ่นมนแต่ละครั้งได้ เนื่องจากสีเป็นสีผสมตามเฉดที่ต้องการก่อนที่จะพ่น
3. ถ้าพ่นไม่ดี สามารถล้างสีออกได้ง่าย โดยไม่กระทบผิวสแตนเลสที่เตรียมไว้ก่อนหน้า
4. มีหลายสีให้เลือกและดูสวยงาม เลียนแบบงานชุบได้ดี
5. ราคาประหยัดกว่างานชุบPVD
แต่ข้อเสียขอสีประเภทนี้ก็คือ:
1. สีไม่ทนต่อการะกระเเทก หรือการใช้งานในระยะยาว ต้องอาศัยการmaintenance
2. ถ้าใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวที่มีการขยับบ่อยๆ หรือมีความชื้น สีอาจจะลอกออกมาเป็นแผ่นๆได้
3. ไม่ทนกับการใช้ภายนอก
4. สีไม่สม่าเสมอหากชิ้นงานขนาดใหญ่ (ขนาดชิ้นงานที่เกิน2นิ้วก็อาจจะเห็นความไม่เสมอของสีแล้ว)
5. สีไม่เสมอในชิ้นงานที่มีมุม/ซอกเยอะ เพราะเนื้อสีอาจกองตามขอบทำให้สีเข้มตามขอบ/มุมได้
รูปตัวอย่างการลอกของสีพ่น
การทำสีบนสแลนเลส ด้วยการชุบPVDแท้จริงแล้วเป็นวิธีที่ดึที่สุด ยั่งยืนและได้สีที่สวยงาม คงทนที่สุด นอกจากนั้นกระบวนการทำสียังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย (สามาถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการชุบPVDได้ที่ลิงค์นี้ "ชุบPVD")
การทำด้วยวิธีชุบPVDนี้ เป็นการทำสีด้วยการใช้เครื่องสุญญากาศที่ปราศจากความชื้นและสิ่งสกปรกโดยใช้แร่ชนิดต่างๆ เช่นไททาเนียม ประกอบกับแก๊สหลากชนิดเป็นตัวกำเนิดสี และใช้กระบวนการที่เรียกว่าsputteringในการทำให้สีไปเกาะที่ผิวสแตนเลส
ชิ้นงานที่ได้จากการทำสีโดยกระบวนการชุบPVDจะออกมาสวยงาม สีสม่าเสมอและมีความคงทน ดูหรูหรา ถ้าท่านผู้อ่านได้มีโอกาสไปชมเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ชั้นนำจากอิตาลีที่ทำจากสเตนเลสสี ก็ล้วนแล้วแต่ทำสีด้วยกระบวนการชุบPVDทั้งนั้น
ข้อดีของการทำสีด้วยการชุบPVD
1. สีสม่ำเสมอ และเรียบเนียน
2. สีคงทน ทนต่อการกระแทกและขูดขีด ไม่มีการลอกเป็นแผ่น (หมายความว่าการกระแทกจะต้องไม่รุนแรงจนทะลุผิวสี)
3. ใช้ภายนอกได้
4. กระบวนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ข่อเสียของสนทำสีด้วยวิธีการชุบPVD
1. ต้องเตรียมผิวและเก็บงานอย่างละเอียด
2. ควมคุมโทนสีได้ยาก ผิวขัดของสเตนเลสที่ต่างเพียงแล็กน้อยก็ทำให้สีต่างได้เพราะฉะนั้นสีจะแตกต่าง10-15%ในหารชุบแต่ละครั้ง (อ่านบทความเกี่ยวกับเฉดสีและผิวเพิ่มเติม คลิ๊กที่นี้)
3.จะไม่สามารถทราบได้ว่าการทำสีจะสมบูรณ์หรือไม่จนกว่างานจะออกจากตู้ หากสีไม่สมบูรณ์เพียงจุดเดียว ก็มีความจำเป็นที่จะต้องลอกสีชิ้นงานทั้งตัวและขัดชิ้นงานใหม่ทั้งตัว
4.ราคาสูงกว่าการทำสีด้วยกระบวนการพ่น
ภาพตัวอย่างชิ้นงานชุบPVD
ดร. อภิชาติ ชยานุภัทร์กุล
บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีล เซ็นเตอร์
อ้างอิง http://www.bssa.org.uk/topics.php?article=119