การดูแลรักษาผลิตภัณฑ์สแตนเลสของ BLISS metal
การดูแลรักษาผลิภัณฑ์สแตนเลสของBLISS metal
แผ่นสแตนเลสของBLISS metal (ยกเว้น copper และ antique series) ได้ผ่านการทำสีด้วยการชุบไททาเนียมโดยกระบวนการ PVD (Physical Vapor Deposition) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสแตนเลส ทำให้ยืดอายุการใช้งาน และเพิ่มความคงทนต่อรอยกระแทก เสียดสีได้ดีกว่าผิวสแตนเลสที่ยังไม่ได้ผ่านการชุบ การชุบPVDนี้ยังเป็นกระบวนการทำสีสแตนเลส ที่ให้ผลดีกว่า เมื่อเทียบกับวิธีการทำสีแบบเดิมๆอย่างelectroplating หรือ powder-coating
ในส่วนของแผ่น copper และ antique series ทางBLISS Metalเลือกใช้กระบวนการทำสีด้วยการชุบดึงผงทองเหลือง/ทองแดงมาปิดบนผิวสแตนเลสก่อนที่จะเคลือบด้วยสารกันรอยนิ้ว(Anti Finger Print coating-AFP)ในขั้นตอนสุดท้าย (กระบวนการAFPนี้ช่วยปิดผิวไม่ให้ทองเเดง/เหลืองสัมผ้สกับอากาศและป้องกันการoxidiseของผิว) เนื่องจากกระบวนการทำสีวิธีนี้เป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยกระบวนการย่อยหลายขั้นตอน ทำให้การควบคุมสีให้มีความสม่ำเสมอกันทุก lot เป็นไปได้ยาก เพราะฉะนั้นเฉดสีของแต่ละlotจึงมีความแตกต่างกันได้ถึง 15-20% และในแผ่นเดียวกันก็อาจจะมีความไม่สม่ำเสมอของสีได้บ้างเช่นกัน
หากสนใจ ดูวิธีการทำสีได้จากที่นี้ คลิกลิงค์ที่นี้
สินค้าและบริการของบริษัทซึ่งได้รับความไว้วางใจในตลาดสเตนเลสคือ การรับทำงานขึ้นรูปตามแบบลูกค้า ตั้งแต่ชิ้นส่วนงานตกแต่งผนัง ชั้นวางของ งานตู้ งานขาเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ พร้อมทำสีชุบPVD และ สีพ่น
หมายเหตุ: ชิ้นงานที่ทำสีด้วยการพ่นสี ทางบริษัทไม่แนะนำให้ใช้ภายนอกที่กระทบกับแสงแดด หรือตั้งอยู่ในตำแหน่งที่มีการสั่นสะเทือน เพราะจะทำให้สีซีดจางเร็วหรือหลุดลอกออกมาเป็นแผ่นได้ เนื่องจากข้อจำกัดของสีทำให้สีมีความทนทานต่ำกว่าสีชุบPVDมาก
การดูแลรักษาแผ่นและชิ้นงานที่มีสีอย่างถูกวิธี จะเป็นดังต่อไปนี้: -
- แผ่นสีและชิ้นงานสามารถมีรอยนิ้วมือ หรือ เหงื่อเค็ม/เปรี้ยวติดอยู่บนพื้นผิวได้ แนะนำให้ใส่ถุงมือสะอาด หรือ นำมือไปชุบในแป้งก่อนที่จะทำงานกับสแตนเลส
- หากมีรอยนิ้วมือติดที่ชิ้นงานให้ทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ หรือ แป้งเช็ดด้วยผ้าสะอาด
- หากพื้นผิวสแตนเลสได้ผ่านการเคลือบป้องกันรอยนิ้วมือมาแล้ว ให้ใช้ผ้าแห้งนุ่ม หรือ กระดาษทิชชู่เช็ดรอยนิ้วมือออกโดยไม่ต้องใช้น้ำหรือน้ำยาช่วยในการทำความสะอาด
- สำหรับแผ่นcopperและantiqueต่างๆ การรักษาชั้นผิวเคลือบAFPเป็นสิ่งสำคัญมากๆเนื่องจากตัวเคลือบนี้เป็นตัวช่วยป้องกันไม่ให้ผิวทองแดง/ทองเหลืองทำปฏิกิริยากับสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้นให้เช็ดผิวด้วยผ้าแห้งเท่านั้น
- ควรทำความสะอาดชิ้นงานอย่างสม่ำเสมอด้วยผ้านุ่มแห้ง และเช็ดทำความสะอาดนานๆครั้งด้วยน้ำสบู่อ่อน ตามเช็ดด้วยผ้านุ่มแห้ง
- การเช็ดควรเช็ดไปในทิศทางเดียวกับลายขัดของสแตนเลส (ไม่สวนทางลายขัด)
- หากโลหะที่เนื้ออ่อนกว่าสแตนเลส เช่น ทอง หรือ เงิน ไปขูดโดนพื้นผิวสแตนเลส มีโอกาสว่าโลหะที่อ่อนกว่านั้นอาจทิ้งคราบไว้บนพื้นผิวสแตนเลส ควรเช็ดคราบโลหะที่ถูกทิ้งบนผิวออกด้วยผ้าสะอาดทันที
- ผงแป้งมันสำปะหลัง นำมาเช็ดกับผลิตภัณฑ์สแตนเลส ช่วยให้สแตนเลสแวววาวได้
- หากเป็นงานที่ใช้ภายนอก แนะนำให้ใช้สแตนเลสสีที่ไม่ได้เคลือบป้องกันรอยนิ้วมือ(ไม่มีAFP) เนื่องจากตัวเคลือบอาจไม่สามารถทนต่อแสงแดดแรงๆแบบในประเทศไทยได้
- แผ่น/ชิ้นงาน copper และ antique series ไม่แนะนำให้ใช้ภายนอกอาคาร เนื่องจากการทำสีseriesนี้ทำโดยการดึงให้ทองเหลือง/ทองแดงจริงมาปิดที่ผิวสแตนเลสและเคลือบป้องกันด้วยตัวanti finger print(AFP)อีกทีเพื่อป้องกันการoxidiseของทองแดง/ทองเหลือง ตัวเคลือบAFPอาจจะไม่สามารถทนต่อสภาวะภายนอกของประเทศไทยได้ และทำให้ทองแดง/เหลืองเปลี่ยนสีจากการทำปฏิกิริยากับoxygenในอากาศ
- การทำงานกับแผ่นcopper และ antique series อาจจะเกิดรอยขีดข่วนระหว่างทำงานได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ผิวเคลือบAFPเสียหายได้ - จึงแนะนำให้พ่นแล๊คเกอร์ใสทับอีหหนึ่งรอบหลังประกอบ/ติดตั้งแล้วเสร็จเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวทองแดง/ทองเหลืองสัมผัสกับอากาศ โดยให้ทดสอบแล๊คเกอร์กับเศษแผ่นที่ไม่ใช้ก่อนเสมอ
- ห้าม ใช้ผ้าเปื้อนน้ำมันสน ทินเนอร์ หรือแวกซ์ในการเช็ดทำความสะอาด
- ห้าม ใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์กัดกร่อน น้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นกรด ในการทำความสะอาดโดยเด็ดขาดขาด เช่น กรดเกลือ น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ หรือ สารเคมีบางชนิดที่มีสูตรเคมีลงท้ายด้วย “CL” (-คลอไรด์ )
- ห้าม นำชิ้นงานที่เป็นเหล็ก เช่น ลวดเหล็กไปผูก มัด เกี่ยว เกาะ สแตนเลสเพราะจะเกิดการถ่ายเทไฟฟ้าสถิต ทำให้สแตนเลสเป็นสนิมได้
- ห้าม ใช้ตะไบหรือวัตถุแข็งอื่น ๆ ในการขัดพื้นผิวสแตนเลสเคลือบ PVD
- ห้าม ห่อชิ้นงานด้วยวัสดุที่มีส่วนประกอบของน้ำมัน เพราะอาจจะทำปฏิกริยากับส่วนที่เคลือบป้องกันรอยนิ้วมือได้
- ห้าม ห่อชิ้นงานมิดชิดจนเกินไป - ปกติแล้วสแตนเลสจะไม่เป็นสนิมเพราะมันจะสร้างมีฟิล์มโครเมียมออกไซด์บางๆเคลือบผิวอยู่เสมอ อันเนื่องมาจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง Cr ( โครเมี่ยม )ในสแตนเลสกับ ออกซิเจนในอากาศ การห่อที่มิดชิดจนเกินไปทำให้กระบวนการการสร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์นี้เกิดขึ้นไม่ได้และทำให้สเตนเลสเกิดสนิมได้ในที่สุด
- อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สเตนเลสเกิดสนิมได้ก็คือการถูกทำลายของชั้นฟิล์มโครเมียมออกไซด์ที่เคลือบผิวของสแตนเลสอยู่ เช่น การมีน้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดไปกัดชั้นฟิล์มโครเมียมออกไซด์โดยที่ไม่ได้ทำการล้างออกให้หมดทันที จึงแนะนำให้ล้างผิวทันทีด้วยน้ำสบู่อ่อนเมื่อสัมผัสกับน้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นกรด
- บริษัทแนะนำให้รักษาความสมบูรณ์ผิวสเตนเลสเพิ่มเติม ดังนี้:-
- หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือช่างร่วมกับงานเหล็ก บริเวณที่มีการเจียรเหล็ก เพื่อ หลีกหลี่ยงการปนเปื้อน
- หลีกเลี่ยงบริเวณที่เกิดสะเก็ดหรือคราบออกไซด์เนื่องจากอุณหภูมิสูงใกล้ๆบริเวณเชื่อม
- พื้นที่ใช้สอยควรเป็นพื้นที่ๆมีอากาศถ่ายเท
- ควรแนะนำให้ช่างหรือแม่บ้านที่จะทำงานกับสแตนเลสเข้าใจถึงการดูแลรักษาของผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะเริ่มงาน เนื่องจากการทำงานที่ผิดวิธีอาจทำให้ผิวชิ้นงานเสียหายได้