ผิว / เฉดสี / ระบบเคลือบกันรอยนิ้วมือ

แผ่นสแตนเลสสี  - ว่าด้วยเรื่อง "ผิว / เฉดสี / ระบบเคลือบกันรอยนิ้วมือ"

 

ถ้าพูดถึงงานสแตนเลสสี เราควรจะไปทำความเข้าใจกันก่อนถึงตัวข้อมูลเบื้องต้นของตัวสแตนเลส แล้วเราถึงจะมาพูดถึงความสัมพันธ์ ของแต่ละปัจจัย ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้มีความเกี่ยวโยง และมีผลต่อกันและกันว่าสุดท้ายแล้วแผ่นสแตนเลสสีจะออกมาหน้าตาแบบไหน

 

เริ่มต้นกันก่อนด้วยคำถามว่าสแตนเลสมีทั้งหมดกี่ผิว?

หลักๆผิวที่นิยมใช้ในงานตกแต่งก็จะมีดังนี้: 

1. ผิวเงา หรือ คนในวงการเรียกกันว่า ผิว "มิลเรอร์" - เอาจริงๆแล้ว ความเงาแผ่นสแตนเลสก็มีความเงาหลายระดับ ซึ่งก็จะมี mirrorธรรมดา และ  super mirrorด้วย แน่นอนว่าเราก็สามารถเดาได้จากขื่อของมันได้เลยว่าตัวsuper mirrorก็ต้องเป็นตัวที่เงางามกว่า (ถ้าเงาน้อยกว่ามิลเรอร์ไปอีกเลยก็จะมีอีกเรียกว่าผิวBAแต่เพื่อไม่ให้สับสน ขอยังไม่พูดถึงผิวเงาอื่นนอกจากผิวมิลเรอร์ )  ความต่างด้านเทคนิคของmirror/super mirror ขอมาให้ความรู้เพิ่มในบทความหน้า

  

Fig. 1 เงาสะท้อนที่คมชัดไม่เท่ากัน แสดงถึงความเงาที่แตกต่างของแผ่นสแตนเลสสี

 

2. ผิว แฮร์ไลน์ / ซาติน  - ผิวนี้จะเป็นการขัดแผ่นให้เป็นลายเส้นไปตามทางยาวของแผ่นสแตนเลส

ผิวแฮร์ไลน์ จากต่างจากซาติน ตรงที่ลักษณะการเดินของเส้นขัด ผิวแฮร์ไลน์จะเป็นเส้นตรงลากยาวจากบนแผ่นไปถึงปลายแผ่น ส่วนซาติน จะเป็นเส้นสั้นๆที่ตามทางยาว แต่ไม่ได้เป็นเส้นตรงลากยาวเหมือนแฮร์ไลน์

Fig 2. โชว์ผิวแฮร์ไลน์ และ ซาติน

 

3. ผิว BB - ผิวนี้เกิดจากการพ่นเม็ดบีดให้ผิวเป็นเม็ดเล็กๆ ก่อนไปทำสี การทำงานกับผิวBBมีข้อจำกัด ค่อนข้างมากเนื่องจากว่ามันจะทำได้ในระนาบ2ดีเท่านั้น ถ้างานที่ขึ้นรูปแล้วจะไปทำผิวนี้ เรียกได้ว่าแทบเป็นไปไม่ได้ อันนี้ทางผู้เขียนได้รับข้อมูลมาว่าเป็นข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่ไม่สามารถทำผิวนี้ให้สวยได้ในระนาบ3ดี ทางผู้เขียนเคยนำงานมือจับประตูไปทดลองทำผิวนี้ดูก่อนเอาไปชุบสี ปรากฏว่าออกมาดูไม่เข้าท่าเลยทีเดียว

ทั้งนี้ทั้งนั้น แผ่นสแตนเลสสีผิวBBนี้ใช่ว่าจะไม่ควรนำมาใช้ เอาจริงๆ ผิวBBนี้ถ้านำมาใช้ในงานปิดผิวผนัง หรือกรุหน้าลิฟท์ งานออกมาก็ดูสวยจริงๆค่ะ

Fig 3. ผิว BB หลากสี

 

4. ผิว VIB - เป็นการขัดผิวสแตนเลสให้เป็นรายวนกลมๆไร้ทิศทางที่ชัดเจน ก็เลยทำให้ผิวนี้มีอีกชื่อนึงที่เรียกกันว่าผิวขัด non-directional ผิวนี้ไม่มีข้อจำกัดเหมือนผิวBB สามารถขัดได้ในงานประกอบ แบบงานเฟอร์นิเจอร์ แต่จะยังไม่นิยมเป็นที่แพร่หลายเท่าผิวแฮร์ไลน์ เนื่องจากยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของลูกค้าชาไทย และยังไม่ค่อยมีช่างในไทยที่ถนัดทำผิวนี้ (แต่BLISS metalทำได้นะคะ)


Fig 4. ผิว VIB หลากสี

 

ทีนี้เรามาดูต่อว่าผิวต่างๆนี้มีผลกับสียังไง?

ในบทความก่อนหน้า เรามีเขียนเกี่ยวกับระบบทำสีสแตนเลสสีแล้ว (หากสนใจอ่านเพิ่มเติม คลิ๊กตามลิงค์นี้ได้ https://www.blissmetal.com/17630970/%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B5) เราจะไม่พูดถึงระบบทำสีในบทความนี้

จากรูปด้านล่าง ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่าสีของสแตนเลสดูแตกต่างกันในแต่ละผิวใช่ไหมละคะ? ดูเหมือนว่าจะเป็นสีคนละความเข้มข้นเลยทีเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้วมันเป็นสีเดียวกันทั้งหมด เช่นสี MR gold / HL Gold / BB gold / VIB gold ทั้งหมดนี้คือใช้ความเข้มข้นของสีเดียวกันทั้งหมด อ้าว...แล้วทำไมมันออกมาต่างกันละคะ? นั้นก็เป็นเพราะว่าผิวที่ต่างกันนั้นเองที่ทำให้เฉดออกมาไม่เหมือนกัน เนื่องจากสีที่เคลือบอยู่บนแผ่นสแตนเลสสีพวกนี้มีความบางและโปร่งใสมาก ผิวที่ขัดก่อนทำสีจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สีออกมาดูแตกต่างกันไปด้วย

Fig 6. งานชุบสีที่เอาเข้าตู้ชุบพร้อมกัน แต่กลับออกมาสีไม่เหมือนกันเลยสักชิ้น

จากภาพด้านบน เห็นไหมละคะว่างานทั้งหมดล้วนเป็นผิวเงาทั้งสิ้น แต่ความเงาที่แตกต่างกันนั้นเองที่ทำให้สีดูไม่เหมือนกัน

แล้วผิวไหนล่ะที่จะทำให้สีเข้ม....ให้จำง่ายๆนะคะ ยิ่งเงา ก็ยิ่งเข้ม ค่ะ

 

แล้วการเคลือบกันรอยนิ้วมือล่ะ คืออะไร?

ก็คือการที่เราเอาเคมีอีกชนิดมาเคลือบบนผิวสแตนเลสหลังชุบสีแล้ว สมัยก่อนยังไม่มีเทคโนโลยีที่เคลือบป้องกันรอยนิ้วมือ หรือ ถ้ามีก็ราคาสูงมาก เราถึงไม่เห็นแผ่นที่มีเคลือบป้องกันรอยนิ้วมือ Anti Fingerprint (AFP)เมื่อหลายปีก่อน แต่เดี๋ยวนี้แผ่นสแตนเลสสีแบบเคลือบAFP ได้รับความนิยมกันแพร่หลายมากเพราะราคาในการทำ ถูกลงมาก แถมยังช่วยในเรื่องการดูแลรักษาระหว่างการใช้งานง่ายมากขึ้นอีกด้วย

การเคลือบAFPไม่ได้แปลว่าจะไม่มีรอยนิ้วมือติดเลย ก็คือยังมีรอยนิ้วมือติดได้นะคะ แต่ว่าจะสามารถเช็ดออกได้โดยง่ายๆ เช่นใช้ทิชชู่หรือผ้าแห้งเช็ดก็ออก ไม่ต้องใช้น้ำยา/ผงอะไรพิเศษในการทำความสะอาด

แล้วทำไมทางBLISS metalถึงมีแต่แผ่นสแตนเลสสีที่เคลือบAFPเฉพาะผิว HL / BB / VIBละ? นั้นก็เป็นเพราะสารเคมีที่ใช้เคลือบผิวเงาและมันแบบผิวมิลเรอร์ยังมีราคาที่สูงมาก ส่วนมากแล้วผู้บริโภคยังไม่เห็นความคุ้มค่าในการจ่ายเพิ่มเป็นจำนวนมากเพื่อป้องกันรอยนิ้วมือในแผ่นเงา

การเคลือบAFPยังไม่ค่อยเหมาะกับแผ่นที่ใช้ในงานภายนอกเท่าไร โดยเฉพาะในอากาศร้อนอย่างบ้านเรา แต่ถ้าในเป็นงานภายใน ก็อยู่กันไปยาวๆ (ต้องเป็นเกรดเคมีที่มีคุณภาพด้วยนะคะ) การเคลือบAFPบนแผ่น

การเคลือบAFPมีผลกับสีหรือไม่? คำตอบคือ สีจะเข้มขึ้นมาเล็กน้อยหลังเคลือบ แต่ไม่มีผลกับสีที่เกาะอยู่บนเนื้อสแตนเลสแต่อย่างใด

 

ผู้เขียน: สริญาณ์ ชยานุภัทร์กุล

ผู้จัดการฝ่ายการตลาด BLISS metal

Date: 24/08/63